วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556




ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

                ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต 

           อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายทำให้เกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต    โค้ดภาพอีโมชั่นaemoticon-0005ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5

 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ      

อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานโครงการวิจัยชั้นสูง (Advanced Research Projects Agency: ARPA) ของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงาน โครงการวิจัยขั้นสูง หรือ อาร์พาเน็ตซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4แห่ง  โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
           อาพาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่าย คือ เครือข่ายการวิจัยขั้นสูง และเครือข่ายกองทัพ โดยทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของอาพาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานมาเชื่ิอมต่อกับอาพาเน็ต ทำให้เกิดเครือข่ายขนาดใหญ่ จนในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ต


พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


        ปี พ.ศ.2530  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วครา

       
ปี ..2535  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
             
             ปี ..2536  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จาการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบดตอย่างต่อเนื่อง
            
             ปี ..2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้



      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น