วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556


ประวัติผู้จัดทำ





ชื่อ : ด.ญ. ปรางแก้ว  ซงดี

ชื่อเล่น : เจน

ชั้น ม. 2/3   เลขที่ 21 

โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์

ข้อมูลติดต่อ : PrangkaeW.jAne@gmail.com

                       jAne_prk_1999@hotmail.com














ความชอบส่วนตัว

  

สิ่งที่ชอบ












สี : ฟ้า ขาว ดำ


ศิลปิน : Girl's Generation , CNBlue


    
















อาหาร : แกงจืดเต้าหู้หมูสับ ไข่เจียวหมูสับ

รายการที่ชอบ : running man




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556


มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

                                            


    จากปัญหาการล่อลวงอินเกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันจะยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อทั้งตนเอง และสังคม เพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการ ซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทของการปฏิบัติ ซึ่งผู้ใช้พึงระลึกและเตือนความจำเสมอ ดังนี้

    1.   ต้องไม่ให้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น เช่น ไม่เผยแพร่ข้อความกล่าวหาบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหาย ไม่เผยแพร่รูปภาพลามกอนาจาร เป็นต้น

    2.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น เช่น การเล่นเกมหรือเปิดเพลงด้วยคอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่นที่อยู่ใกล้เคียง
                                          

    3.   ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต
                                                      

   4.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

    5.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

    6.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต

    7.   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

    8.   ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง

    9.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน

    10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

                          

                                                     



     

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

                             
                                          


 ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตทำให้การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่ออินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้นเท่าใด อินเทอร์เน็ตย่อมส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อสังคม ดังนี้
    1 ผลกระทบทางบวก
         อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางบวกต่อสังคม ดังนี้
         1.)   ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
         2.)  ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
         3.)  ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปแบบใหม่ที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้แก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (e-learning)

                                                         
2 ผลกระทบทางลบ
         อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทางลบต่อสังคม ดังนี้
        1.)   ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม กล่าวคือ อินเทอร์เน็ตทำให้คนในสังคมเข้าถึงข้อมูลมากมายมหาศาล สภาพสังคมจึงเปลี่ยนเป็นสังคมฐานความรู้ หรือสังคมที่ใช้ความรู้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น จึงเกิดการแข่งขันด้านเศรษฐกิจกันอย่างรุนแรง ซึ่งการตัดสินใจในการทำงานต้องใช้ข้อมูลที่มีคุณภาพ เพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้อง ทำให้คนในสังคมเกิดความกดดันและเกิดความเครียดสูงขึ้น
         2.)   เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดค่านิยมที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นในสังคม เช่น การแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน การติดเกมประเภทความรุนแรง เป็นต้น

                                               

       3.)   เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม เนื่องจากคนในสังคมใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมลดลง จนเกิดคำพูดที่ว่า “เทคโนโลยีทำให้คนไกลใกล้กันมากขึ้น แต่เทคโนโลยีก็ทำให้คนใกล้ไกลมากขึ้น” กล่าวคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้คนที่อยู่ไกลกันสามารถสื่อสารได้เหมือนอยู่ใกล้กัน ในขณะที่ทำให้คนที่อยู่ใกล้กันเกิดความห่างไกลกันมากขึ้น เช่น คนในครอบครัวที่ต่างคนต่างคุยกับเพื่อนในอินเทอร์เน็ต จึงมีเวลาพูดคุยกับคนในครอบครัวน้อยลง

                                   
        
         4.)   เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นโลกเสรีที่ให้ผู้คนสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ แต่การแสดงความคิดเห็นที่ไร้ขอบเขต ย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เช่น การนำข้อมูลส่วนบุคคลออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจไม่เป็นจริงหรือไม่ได้พิสูจน์ความถูกต้อง การแสดงความคิดเห็นด้วยถ้วยคำที่รุนแรงต่อบุคคลผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
         5.)   อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ไม่หวังดีอาจใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด เช่น การล่อลวงผู้ที่เล่นอินเทอร์เน็ตและก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในแง่มุมต่างๆ ทั้งภาพลามกอนาจาร การพนันออนไลน์  การจำหน่ายของผิดกฎหมาย การส่งไวรัสไปทำลายข้อมูลของผู้อื่น เป็นต้น

                                              ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  269804_5194693 แต่ง hi5                                  ภาพดุ๊กดิ๊ก อีโมชั่น  การ์ตูนน่ารัก ภาพเคลื่อนไหวภาพกลิตเตอร์  yenta4-emoticon-0006 แต่ง hi5








 


การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต


                                                 

  อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามรถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่และเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท

    1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล (electronic mail หรือ e-mail)

           เป็นบริการใช้ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามรถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับบุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์แบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้นแนบไปได้อีกด้วย
         การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีการระบุที่อยู่ของผู้รับเช่นเดียวกับการระบุที่อยู่บนซองของการส่งไปรษณีย์ธรรมดาทั่วไป ซึ่งในการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผู้ส่งและผู้รับจะต้องมีที่อยู่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรส (e-mail Address)
         สำหรับรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ และชื่อเครื่องบริการ โดยใช้เครื่องหมาย @ (ออกเสียงว่า แอ็ท) คั่นระหว่างทั้งสองส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไปรษณีย์จะถูกเก็บไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเมลเซิร์ฟเวอร์ (mail server) จนกระทั่งผู้รับมาเปิดอ่าน

                    

รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้
         1) เว็บเมล (Web Mail) เป็นการบริการการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ โดยผู้ใช้สามารถสมัครลงทะเบียนในเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการได้ จากนั้นผู้ใช้จะได้รับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แอดเดรสและรหัสผ่าน เพื่อขอเข้าใช้บริการผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งเว็บเมลส่วนใหญ่จะให้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เช่น www.mailgoogle.com  www. yahoomail.com และ www.hotmail.com เป็นต้น


2 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล

         การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP) เป็นการโอนแฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้กำลังใช้งานอยู่และมีการเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง (Local host) ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายแฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่าเครื่องปลายทาง (remote host) โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรแกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
 การโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มีการทำ 2 ลักษณะ คือ
         1. get เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง (download)
         2. put เป็นการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทาง (upload)

                               

  การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้แก่
         1. การโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรแกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นแบบแจกฟรี (freeware) และแบบให้ทดลองใช้ก่อน (shareware) เช่น WS_FTP CuteFTP เป็นต้น
         2. โอนย้ายแฟ้มข้อมูลผ่าน Web Browser


3 การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น

         การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Internet forum) เป็นบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งแนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม (social network) เทคโนโลยีการแลกเปลี่ยนข่าวสารมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ยูสเน็ต (usenet) บล็อก (blog) เป็นต้น

                         


          1) ยูสเน็ต (usenet) เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้ต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิก (subscribe) กลุ่มหัวข้อใดที่ตนเองสนใจ และเมื่อเป็นสมาชิกแล้วก็จะสามารถเรียกดูข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มหัวข้อนั้นได้และยังสามารถขอความคิดเห็น หรือร่วมแสดงความคิดเห็น สอบถามปัญหา หรือตอบปัญหาของผู้อื่นที่ถามมาในกลุ่มหัวข้อนั้น ๆ ได้ สำหรับยูสเน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ ได้มีการจัดแบ่งเป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ  เช่น กลุ่มการเมือง กลุ่มเทคนิคด้านคอมพิวเตอร์ กลุ่มดนตรี กลุ่มศิลปะ กลุ่มกีฬา เป็นต้น ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ต้องการอ่านข่าวสารในกลุ่มหัวข้อนั้นอีก ก็สามารถยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ของกลุ่มหัวข้อนั้นได้
           2) บล็อก (blog) ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก (webblog)  เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบนทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง ประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร โดยจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์ (diary online) ข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อก อาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกัน จนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ซึ่งผู้ใช้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาแสดงความคิดเห็นร่วมกันได้ และสามารถอ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้ โดยข้อมูลหรือความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือมัลติมีเดีย ทั้งนี้ผู้เขียน (blogger) ต้องพึงระวังการเขียนข้อความในลักษณะหมิ่นประมาท ยั่วยุให้ผู้อื่นกระทำผิดกฎหมาย ซึ่งอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้ ปัจจุบันบล็อกที่นิยมใช้ในประเทศไทยมีหลายเว็บไซต์ เช่น Hi5, Face book, Wikipedia, YouTube เป็นต้น

                      

4     การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต

         การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต มี 2 รูปแบบ ดังนี้
         1) การสนทนาเป็นกลุ่ม  เป็นการสนทนาโดยคู่สนทนาจะพิมพ์ข้อความไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ จากนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อความแสดงบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่ร่วมสนทนา ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์จะแบ่งห้องสนทนา (chat room) เป็นกลุ่มหัวข้อต่างๆ  ให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้บริการตามความสนใจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการนี้ เช่น www.sanook.com  www.pantip.com เป็นต้น

                             

    2)   การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง  เป็นการสนทนาโดยมีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งของโปรแกรมสนทนา (instant messaging)  ของคู่สนทนา ทำให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับผู้ใช้อื่นๆ ได้โดยตรง การสนทนาไก้ทั้งการพิมพ์ข้อความ การส่งภาพกราฟิก เสียง และภาพเคลื่อนไหว นอกจากนี้โปรแกรมยังมีฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โปรแกรมสนทนาที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ MSN Messenger, AOL Instant Messenger, Yahoo Messenger, Google Talk,  NET Messenger Service,  Jabber, ICQ และ Skype


5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต

        การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนจะต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง แต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนข้องสมุดหลายแห่งทั่วโลกที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น การสืบค้นข้อมูลจึงทำได้สะดวกขึ้น แต่งสิ่งหนึ่งที่นักเรียนจะต้อคำนึงถึง คือ การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้น อาจต้องใช้เวลานานมาก กว่าจะพบเว็บเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ หรืออาจพบแต่เป็นเนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง และบางครั้งอาจหาไม่พบเลย  โดยวิธีที่ดีที่สุด คือ การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ค้นหาข้อมูล (search site) ซึ่งเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลแบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการทำงาน ดั้งนี้
         1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมการค้นหา (search engine) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยการระบุคำสำคัญ เพื่อค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมการค้นหา ซึ่งข้อมูลจะครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่นๆ โปรแกรมการค้นหาส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (keywords) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปและจะแสดงรายการผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคำสำคัญที่สุด ตัวอย่าง เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ หรือโปรแกรมการค้นหาที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น www.google.com, www.bing.com,  www.search.com เป็นต้น

  
 2) เว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ (web directories)   เป็นเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ  ในอินเทอร์เน็ต โดยแต่ละเว็ปไซต์จะถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่ที่เหมาะสม ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ เช่น www.sanook.com , www.yahoo.com เป็นต้น

   
การค้นหาข้อมูลด้วยเว็บไซต์ที่มีการจัดข้อมูลตามหมวดหมู่ ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกเพราะสามารถเลือกค้นข้อมูลจากหมวดหมู่เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด แต่หากเว็บไซต์มีการจัดแบ่งหมวดหมู่โดยไม่มีมาตรฐาน อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ง่าย
         นอกจากบริการทั้ง 5 บริการดังกล่าวบนอินเทอร์เน็ตแล้ว ปัจจุบันยังมีบริการอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ดั้งนี้

 


 


                              




 การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

    การเชื่่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อแบบหมุนโทรศัพท์ (Dial-Up  Connection)  ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นในการเชื่อมต่อ มีดังนี้
    1 เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล
    2 เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจาเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language)  และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอแก่ผู้ใช้
    3 หมายเลขโทรศัพท์และสายโทรศัพท์  สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการเชื่อมต่อ
    4 โมเด็ม  เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อก (analog) และเมื่อเป็นผู้ส่งจะแปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัล
    5 บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)  ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรืออาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตแบบสำเร็จรูป โดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท  โทรคมนาคม ทีทีแอนด์ที ล็อกอินโฟ  3BB เป็นต้น

                                 


วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556



การทำงานของอินเทอร์เน็ต      

           เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้นั้น จะต้องมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นแบบเดียวกันหรือใช้กฎและข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล (protocol) ในการควบคุมรูปแบบข้อมูลและการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โพโทคอลที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต เรียกว่าทรานมิสชันคอนโทรไปรโทคอล/อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) หรือมีชื่อย่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP)
          
           อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากยิ่งหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายแบบแพ็กเก็ตสวิตชิง (Packet-Switching Network)  กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นกลุ่มๆ หรือแพ็กเก็ต และส่งไปยังปลายทางดโดยใช้เส้นทางต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่องเพื่อให้คอมพิวเตอร์อื่นๆ อ้างอิงถึงได้ เช่นเดียวกับการโทรศัพท์จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งซึ่งจำเป็นต้องมีหมายเลขโทรศัพท์ของเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง

          หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า หมายเลขไอพี (IP Address) ซึ่งเป็นหมายเลขชุดหนึ่งมีขนาด 32 บิด หมายเลขชุดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 205.42.117.104 โดยหมายเลขไอพีของเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไมซ้ำกัน และเนื่องจากหมายเลขไอพีจดจำได้ยาก ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากอยู่ในเครือข่าย ก็จะทำให้สับสนได้ง่าย จึงได้เกิดการตั้งชื่อที่เป็นตัวอักษรขึ้นมาแทนหมายเลขไอพี เพื่อช่วยในการจดจำเรียกว่า ดีเอ็นเอส (DNS: Domain Name Server) ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ชื่อ และโดเมน            

โดเมน 

โดเมนมีมาตรฐานใช้ร่วมกันสำหรับหน่วยงานและประเทศต่างๆ  ดังนี
 1. โดเมนระดับบนสุด  จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่ 


                            




 2. โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทองค์กร




                                                               









   

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556




ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต

                ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต 

           อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายของเครือข่าย ซึ่งคือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายทำให้เกิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน และคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับและส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว

พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต    โค้ดภาพอีโมชั่นaemoticon-0005ดุ๊กดิ๊กแต่งhi5

 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ      

อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ.1969 หน่วยงานโครงการวิจัยชั้นสูง (Advanced Research Projects Agency: ARPA) ของกระทรวงกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยในช่วงแรกรู้จักกันในนามของเครือข่ายสำนักงาน โครงการวิจัยขั้นสูง หรือ อาร์พาเน็ตซึ่งมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ระหว่างสถาบันการศึกษา 4แห่ง  โดยมีคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในเครือข่ายและมีระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกันแต่สามารถสื่อสารข้อมูลกันได้
           อาพาเน็ตแบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่าย คือ เครือข่ายการวิจัยขั้นสูง และเครือข่ายกองทัพ โดยทั้งสองเป็นเครือข่ายหลักที่ใช้ในทวีปอเมริกาเหนือ ต่อมาภาครัฐและเอกชนจำนวนมากเล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของอาพาเน็ต จึงมีการนำเครือข่ายของหน่วยงานมาเชื่ิอมต่อกับอาพาเน็ต ทำให้เกิดเครือข่ายขนาดใหญ่ จนในปี ค.ศ.1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ต


พัฒนาการของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


        ปี พ.ศ.2530  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยและถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าและเป็นการเชื่อมต่อแบบชั่วครา

       
ปี ..2535  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกิดเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า เครือข่ายไทยสาร โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9,600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา
             
             ปี ..2536  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จาการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำให้เครือข่ายมีความสามารถในการส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ซึ่งมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับเครือข่ายไทยสารอีกหลายแห่ง เครือข่ายไทยสารจึงมีการเติบดตอย่างต่อเนื่อง
            
             ปี ..2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่บุคคล ในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) ที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้